วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

ตัดต่อด้วย iMovie 

iMovie คือแอพที่ดีที่สุดที่เราจะใช้ในการตัดต่อวิดีโอ เพราะถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับ iPhone, iPad หรือ macOS โดยเฉพาะ สามารถ Download ได้จาก App Store
หากใครที่เคยใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโออื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะการทำงานเป็นแบบ Timeline ก็จะสามารถเข้าได้ได้เป็นอย่างดี สำหรับการตัดต่อที่ทีมงานแนะนำ ก็มีเทคนิคดังนี้
ยืดเวลาภาพเล็กน้อยเพื่อสื่ออารมณ์ได้มากขึ้น 
การถ่ายแบบ 60 FPS นั้นมีข้อดีคือ เราสามารถยืดภาพให้เป็นสโลว์โมชั่นเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ แต่ไม่สโลว์เท่าการถ่ายแบบ 240 FPS ซึ่งเราสามารถเลือกยืดคลิปได้โดยปรับ Speed editor ใน iMovie
ใช้การ Fade 
ใน iMovie มีการ Fade หลายรูปแบบให้เราเลือกใช้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของคลิปของเราว่าเป็นแบบไหน แต่ถ้าต้องการสื่อถึงความตื่นเต้น รวดเร็ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ Fade ในส่วนนี้ให้ลองสังเกตจากภาพยนตร์ ต่าง ๆ ซึ่งหากสังเกตแล้วจะไม่ค่อยใช้การ Fade เท่าไหร่ จะเน้นตัดไปมาเลย
ปรับแต่งสีให้เลิศ 
เราสามารถเลือกปรับสีของคลิปได้ ไม่ว่าจะเป็นความสว่าง, เพิ่มลดรายละเอียดของคลิป, ปรับสีโทนร้อน-เย็น หรือจะเลือกใส่เป็น Filter อื่น ๆ อีกมากมายได้ ทำให้ดูแปลกตามากขึ้น ดูไม่เหมือนถ่ายจากกล้องโทรศัพท์เลย
บันทึกและแชร์วิดีโอ
หลังจากที่ได้ทำคลิปของเราให้สวยเลิศเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถแชร์กับเพื่อนได้ในช่องทางต่าง ๆ ซึ่งทีมงานแนะนำว่าควรเลือกอัพโหลดเป็น HD หรือ 4K ไปเลย เพื่อให้ดูโปรมากขึ้น สำหรับช่องทางในการแชร์ต่าง ๆ ก็มีมากมาย เช่น
  • Facebook – อันนี้ทุกคนน่าจะรู้จักกันดี ซึ่ง Facebook ก็มีตัวเลือกให้เราปรับแก้ไขเวลาคลิปก่อนอัพเล็กน้อย
  • YouTube – มีตัวเลือกเยอะอยู่พอสมควร สามารถใส่ Filter ต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ และเลือก Soundtrack ประกอบได้ด้วย
  • Flickr – เน้นการอัพวีดีโอในลักษณะของ Footage เพื่อนำไปใช้ในงานต่าง ๆ
  • Google Photos – สามารถเก็บวีดีโอได้และแชร์เป็นอัลบัมร่วมกับรูปได้ด้วย
  • iCloud Photos Library – คล้ายกับ Google Photos คือสามารถจัดเก็บเป็นอัลบัมได้

เปิด Flash ช่วยขณะถ่ายสโลว์โมชั่น

หลายอาจจะเคยสังเกตว่าเวลาที่เราถ่ายสโลว์โมชั่นนั้น ภาพจะมืด นั่นก็เป็นเพราะว่าการถ่ายแบบสโลว์โมชั่นนั้นจะต้องถ่ายด้วยความเร็วชัดเตอร์ที่สูงมาก ทำให้ไม่สามารถรับแสงได้มากเหมือนกับการถ่ายภาพความเร็วต่ำ ดังนั้นเราจึงอาจใช้แสงจาก Flash ช่วย สำหรับการเปิด Flash ให้กดที่รูป Flash จากนั้นเลือก On 
อีกหนึ่งปัญหาของการถ่ายสโลว์โมชั่นก็คือ ภาพกระพริบ ซึ่งเป็นผลมาจากหลอดไฟที่เราใช้นั้น มีการกระพริบตามกระแสของไฟฟ้าที่ไหลผ่าน การถ่ายวิดีโอที่ความเร็วระดับ 240 ภาพต่อวินาทีนั้น มากกว่าอัตราการกระพริบของหลอดไฟ ทำให้ภาพที่ได้ดูกระพริบ สำหรับวิธีแก้ก็สามารถ ใช้การเปิด Flash ช่วยได้ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด การถ่ายวิดีโอสโลว์โมชั้นควรถ่ายทำในที่ แสงธรรมชาติ มากกว่าแสงหลอดไฟ

รู้จักกับ AE และ AF Lock

การถ่ายวิดีโอบน iPhone นั้น ตัว iPhone จะช่วยปรับแสงว่างและโฟกัสให้เราอัตโนมัติ เรียกว่า Focus Pixel แต่ในบางกรณี เราก็ต้องการจะเลือกโฟกัสเฉพาะจุด หรือปรับแสงตามที่เราต้องการเท่านั้น ซึ่งวิธีป้องกันไม่ให้ iPhone โฟกัสหรือปรับแสงอัตโนมัติก็สามารทำได้โดยการเปิด AE/AF Lock

วิธีใช้งาน AE/AF Lock 
  • ทำการกดค้างที่หน้าจอ โดยกดไปบริเวณที่เราต้องการโฟกัส ค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาที
  • หน้าจอจะขึ้นคำว่า AE/AF Lock บนกรอบสีเหลือง (เหมือนในภาพด้านบน)
  • หากต้องการเพิ่มหรือลดความสว่าง ให้เลื่อนรูปพระอาทิตย์ข้าง ๆ กรอบโฟกัสขึ้นหรือลง
  • ทำการถ่ายวีดีโอ ซึ่ง iPhone จะไม่ เปลี่ยนจุดโฟกัสจนกว่าเราจะแตะที่หน้าจออีกครั้ง
สำหรับการใช้งาน AE/AF Lock นั้น นิยมใช้กับการถ่ายแบบใกล้ ๆ หรือการเล่นโฟกัสไปมา เช่น จากวัตถุชิ้นใกล้ไปยังวัตถุชิ้นไกล โดยที่ยังโฟกัสที่ระยะสั้น ๆ อยู่
การบันทึกเป็นช็อต
ช็อต” คือการเริ่มบันทึก เพื่อเริ่มเทปเดินและเริ่มบันทึกลงม้วนเทป จนกระทั่งกดปุ่ม Rec อีกครั้ง เพื่อเลิกการบันทึก แบบนี้เค้าเรียกว่า ช็อต การถ่ายเป็นช็อคไม่ควรปล่อยให้ช็อตไม่ควรปล่อยให้ช็อตนั้นยืดยาวไปนัก คือไม่ควรเกิน วินาทีต่อ ช็อต
วิธีการบันทึกเป็นช็อต
การ ถ่ายเป็นช็อตนี้ จะต้องเลือกมุม เลือกระยะที่จะถ่ายก่อน เลือกว่าจะถ่ายแบบไหนที่จะได้องค์ประกอบครบถ้วน ยกกล้องขึ้นส่อง จัดองค์ประกอบ แล้วถือให้นิ่ง กดบันทึก นับ 1-2-3-4-5 แล้วกดหยุด ในระหว่างกดบันทึกห้ามสั่น ห้ามไหวเด็ดขาด วิธีการไม่ยากนัก โดยให้รอจังหวะ หลักการง่ายๆคือนิ่งๆเข้าไว้ และไม่จำเป็นต้องถ่ายทั้งหมดหรือถ่ายยืดยาว เลือกแค่เป็นช็อตสำคัญก็พอ
รูปแบบการบันทึกเป็นช็อต
Wide Shot (WS) “Extreme Long Shot” เป็นการถ่ายวิดีโอที่โชว์ภาพโดยรวม หรือเปิดให้เห็นทั้งวัตถุหลักที่อยู่ท่รามกลางบรรยากาศรอบข้าง
Long Shot (LS) เป็นการซูมเข้ามาเพื่อเก็บรายละเอียดของวัตถุหลักมากขึ้น แต่ยังคงเก็บภาพแวดล้อมรอบข้างไว้ด้วย เพื่อบอกเล่าเรื่องราว
Medium Shot ยังแบ่งเป็น Medium Long Shot,Medium Shot,
Medium Ciose-up Shot (MCU) 
เป็นการเก็บรายละเอียดเฉพาะส่วนบนหรือครึ่งบนขอวัตถุหรือเรียกว่า
การถ่ายภาพครึ่งตัวของภาพนั้นๆ
Close-up Shot (CU) เป็นการซูมให้เห็นเฉพาะวัตถุหลัก โดยไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เพื่อให้เห็นว่าต้องการระบุ รายละเอียดเฉพาะวัตถุเท่านั้น ถ้าเป็นการถ่ายวิดีโอบุคคลก็จะเก็บภาพตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป

ข้อดีของการบันทึกเป็นช็อต
ช็อตมุมกว้าง คือ บอกให้รู้สถานที่ และให้ได้รู้ว่าเป็นงานอะไร สถานที่ที่ไหน หากว่าถ่ายเห็นป้ายของงงานเข้าไปด้วยยิ่งดี การถ่ายแบบนี้ดูเป็นเรื่องเป็นราว บอกเล่าเรื่องราวตามลำดับขั้น ว่ามีใครทำอะไรบ้างไม่ว่าจะเป็นงานพิธีหรือถ่ายกันเล่นๆ เพราะว่าภาพจะสลับมุมต่างๆมาให้ชมเป็นระยะทำให้ไม่น่าเบื่อ
ช็อตการแพน การ ยกกล้องขึ้นลงการซูม การเล่นมุมกล้องแบบต่างๆ หรือเล่นมุมกล้องเอียงก็ทำได้เช่นกัน แต่ว่าต้องเริ่มต้นด้วยหลักการถ่ายเป็นช็อตๆให้กระชับและไม่ยืดยาดจะทำให้คนดูไม่เบื่อ ที่มีแต่ภาพแข็งๆทื่อๆดูแล้วไม่มีชีวิตชีวา
เทคนิคการเคลื่อนที่กล้องโดยไม่ให้สั่นไหว
การไวด์” หรือ” Wide Shot” เป็นวิธีที่ช่วยอำพรางการสั่นไหวของกล้องได้ซึ่งแม้ว่ากล้องจะสั่น ภาพจะไหว แต่ก็ยังไม่เห็นความแตกต่างเพราะว่ามันมีภาพมุมกว้างที่หลอกตาอยู่ ถ้าหากต้องการที่จะเดินถือกล้องถ่ายแบบนี้ละก็ จะต้องเลือกระยะกล้องที่ไกลสุด โดยการดึงภาพด้วยการซูมออกมา เรียกว่าลองช็อต(Long Shot) เป็นประคองกล้องเดินช้าๆแบบนุ่มนวล โดยไม่ต้องซุฒเข้าไปอีก ควรปล่อยให้เป็นภาพมุมกว้างเข้าไว้



การแพนกล้อง


การแพนกล้องที่ดีต้องมีจังหวะที่จะแพน คือต้องมีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของการแพน จุดนี้เองคนที่อยู่เบื้องหลังคอยตัดต่อภาพทั้งหลายมันเป็นเรื่องยุ่งยากที่ จะตัดต่อภาพ โดยมีภาพทีแกว่งไปแกว่งมา หรือวูบวามไปมา เมื่อนำมาร้อยใส่ภาพนิ่งๆจะรู้สึกได้เลยว่าไม่เข้ากัน พลอยทำให้ดูไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่ ไม่นิ่มนวลสมจริง บางครั้งรู้สึกว่าโดดไปโดดมา หากจะให้ตัดต่อได้สะดวกและภาพสมบูรณ์ การแพนจะต้องมีจุดเริ่ม คือเริ่มจากถือกล้องให้นิ่งเสียก่อน จากนั้นกดปุ่มบันทึกภาพแล้วค่อยแพน และจุดจบ คือนิ่งทิ้งท้ายตอนจบอีกเล็กน้อย เพื่อบอกคนดูให้เตรียมพร้อมและพักสายตาระหว่างชมภาพ


เทคนิคการซูมและการโพกัส

    1.ในขณะที่ซูมไม่ควรเดินหรือเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้วีดีโอที่ได้มีโอกาสสั่นไหวสูง
    2.หากต้องการเคลื่อนที่ด้วยขณะซูม ขอแนะนำให้ดึงซูมออกมาให้สุดก่อน แล้วค่อยกดปุ่มบันทึก จากนั้นให้เดินเข้าไปแทนการซูมเลนส์
    3.อย่าสนุกกับการซูมจนมากเกินไป เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เพิ่มเริ่มเล่นกล้องมักจะชอบดึงซูมเข้า/ออก ทำให้ภาพที่ได้น่ามึนหัว เหมือนกำลังกระแทรกกำแพงโป๊กๆที่จริงแล้วการซูมจะทำเมื่อต้องการดูราย ละเอียดของเหตุการณ์ เพื่อบ่งบอกเรื่องราว หรือซูมออกเพื่อแสดงภาพรวมของเหตุการณ์นั้นๆ พูดง่ายๆ จะซูมก็ควรมีเหตุมีผลมีเรื่องราวที่จะเล่าจากการซูมจริงๆ
    4.ควรหยุดซูมเสียก่อนค่อยเคลื่อนไหวกล้อง หรือซูมก่อนบันทึกภาพ จุดนี้จะช่วยให้วีดีโอที่ได้น่าสนใจมากขึ้น เช่น การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในท้องทะเล อาจจะตั้งกล้องซูมเข้าไปที่เรือจากนั้นกดปุ่มบันทึก แล้วค่อยๆซูมออกมาให้เห็นท้องทะเล

ท่าทางการถือ iPhone

อีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนมักมองข้ามก็คือท่าทางการถ่ายภาพ ซึ่งสิ่งแรกที่ต้องระลึกไว้เสมอเลยว่า ห้ามถ่ายแนวตั้งเป็นอันขาด เพราะจอภาพไม่ว่าจะยังไงก็ตามจะดูแนวนอนเสมอ การถ่ายวีดีโอแนวตั้งมาเป็นอะไรที่ไร้ประโยชน์มาก เวลาโพสในไหนก็จะมีแถบสีดำสองข้างมาหลอกหลอน เป็นที่น่ารำคาญตายิ่งนัก แถบการมองเห็นส่วนบนและล่างของภาพที่เราจะถ่ายก็ไม่มีประโยชน์เลย ดังนั้นถ้าจะถ่ายวิดิโอละก็ ถ่ายแนวนอนไว้ดีกว่า และท่าทางการถ่ายก็สำคัญ เพราะส่งผลต่อความนิ่งและการหันไปมาของกล้อง ทีมงานได้ทดลองถ่ายท่าต่าง ๆ ดู ก็ได้ค้นพบเทคนิคที่ทำให้การถ่ายวิดิโอนั้นนิ่งขึ้น
  • ถ่ายแบบมือเดียว หลายคนเวลาถ่ายวิดีโอบน iPhone จะใช้การถ่ายคล้ายกับถ่ายรูป ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ถูกต้อง เพราะการถ่ายรูปเราต้องใช้มือกดชัตเตอร์ แต่วิดีโอเราต้องการภาพที่ออกมาลื่นไหลที่สุด (กดอัดไว้ก่อน ค่อยปรับท่าทางก็ได้) ซึ่งท่าทางที่ถ่ายแล้วจะดูนิ่ง ก็คือการวาง iPhone ลงบนทั้ง 4 นิ้ว แล้วใช้นิ้วโป้งจับบริเวณขอบอีกด้านของ iPhone ซึ่งการทำแบบนี้ จะทำให้เรายืดแขนได้ตรง (ไม่ต้องงอแขน) ทำให้ภาพจะดูลื่นกว่า อีกทั้งเรายังสามารถใช้แขนทั้งแขนของเรา ยกลึ้นลง ซ้ายขวาได้อย่างอิสระ ไม่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ หรือลุก ๆ นั่ง ๆ
  • หรือถ่ายแบบสองมือช่วยประคอง หากสามารถถ่ายสองมือได้ ก็แนะนำว่าควรถ่ายสองมือ ช่วยกันประคอง iPhone ไว้ โดยใช้ปลายนิ้ว (ข้อต่อสุดท้าย) ก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน
  • ใช้การย่อเข่าช่วย การย่อเข่าลงระหว่างเดินเล็กน้อยจะช่วยให้นิ่งขึ้น (แต่ระวังปวดขาแทน) แนะนำว่าถ้าต้องถ่ายยาว ๆ ละก็ หาจักรยานมาปั่นดีกว่า ทำให้ภาพนิ่งกว่าและไม่ต้องปวดขาด้วย (แต่ก็เสี่ยงกับ iPhone หล่นแทน จับให้แน่น ๆ ละกัน)

30 เฟรมต่อวินาที / 60 เฟรมต่อวินาที เลือกถ่ายแบบไหนดี

ปกติแล้วเราสามารถเลือกได้ว่าจะถ่ายแบบ 30 FPS หรือ 60 FPS (iPhone 6 เป็นต้นไป) ซึ่งการเลือกปรับก็สามารถเข้าไปเลือกได้ที่ Settings > Photos & Camera > Record Video จากนั้นเลือกเป็น 30 FPS หรือ 60 FPS ซึ่งแน่นอนว่าการเปิดการถ่ายแบบ 60 FPS จะทำให้ความจุเต็มไวก็จริง แต่เราลองมาเปรียบเทียบข้อแตกต่างของทั้งสองอย่างนี้ว่าเหมาะกับงานแบบไหน
  • 30 FPS เป็นการบันทึกภาพ 30 ภาพต่อ 1 วินาที คือไฟล์ขนาดเล็ก ดูเป็นภาพยนต์สูง (ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวได้ดี) เหมาะสำหรับการถ่ายอิริยาบถทั่วไป ที่ iPhone อยู่นิ่ง ๆ
  • 60 FPS เป็นการบันทึกภาพ 60 ภาพต่อ 1 วินาที ได้ไฟล์ขนาดใหญ่และลื่นมาก เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหว, เดินถ่าย หรือถ่ายภาพกีฬา
อย่างไรก็ตามในเรื่องถัดไปเราจะมาเรียนรู้การใช้เทคนิคของการถ่ายทั้งสองแบบ ว่าอารมณ์แตกต่างกันยังไง

การถ่ายวิดีโอบน iPhone

การถ่ายวิดีโอบน iPhone นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
  • แบบปกติ คือการถ่ายแบบปกติทั่วไป ซึ่งหากเราใช้ iPhone 6s หรือ iPhone SE จะรองรับการถ่ายความชัดสูงสุดที่ 4K
  • แบบสโลว์โมชั่น เปรียบเสมือนการถ่ายวีดีโอที่ความเร็ว 240 ภาพต่อวินาที (สูงสุดบน iPhone 6 เป็นต้นไป) จากนั้นนำมายืดออก ดังนั้นภาพที่ได้จะเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ช้าลง
  • แบบไทม์แลปส์ เป็นการถ่ายวิดีโอนาน ๆ แล้วนำมาเร่งความเร็ว ซึ่งในส่วนนี้ iPhone จะปรับให้เองอย่างฉลาด ให้เหลือประมาณ 20-40 (ไม่ว่าเราจะถ่าย 10 นาที หรือ 2 ชั่วโมงก็ตาม) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่คนจะดูวิดีโอของเราจนจบโดยไม่กดข้าม
ซึ่งการถ่ายทุกแบบจะมาพร้อมกับ ระบบป้องกันภาพสั่นไหว สังเกตว่าเวลาเราถ่ายวีดีโอ ความกว้างของภาพที่ได้จะแคบกว่าการถ่ายรูปปกติ นั่นเป็นเพราะว่า iPhone จะทำการเผื่อพื้นที่รอบข้างเอาไว้นำมาปรับภาพของเราให้ดูเนียนขึ้น เวลาเรามือสั่น